สปอร์เห็ดหลินจือกะเทาะเปลือกหรือแตกตัว คืออะไร
เมื่อนำสปอร์เห็ดหลินจือมาส่องกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูง พบว่าสปอร์เห็ดหลินจือมีขนาดเล็กมากเพียง 8.5-11.5×5-7 ไมครอน รูปร่างคล้ายไข่ไก่ แต่สปอร์เห็ดหลินจือมีผนังหรือเปลือกที่หนาร่างกายไม่สามารถย่อยผนังนี้ได้ จึงต้องผ่านกระบวนการกะเทาะเปลือกหรือแตกตัวให้กับสปอร์เห็ดหลินจือเสียก่อน โดยเครื่องมือที่ทันสมัย เพื่อให้เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วร่างกายสามารถดูดซึมได้ และนำเอาสารสำคัญออกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะสปอร์เห็ดหลินจือ มีสารอาหารปะเภทโปรตีน ที่นอกจากจะเป็นวัตถุดิบในการสร้างเสริมเนื้อเยื่อต่างๆ และให้พลังงานได้ใกล้เคียงกับแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นโครงสร้างที่ให้ความแข็งแรงแก่ร่างกาย เป็นตัวเร่งปฏิกริรยาเคมี เป็นตัวช่วยขนส่ง ช่วยลำเลียงออกซิเจน ไขมัน เป็นส่วนประกอบของฮอร์โมน เป็นแหล่งสะสมอาหาร ทำหน้าที่สำคัญในการป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ
สำหรับโปรตีนใน สปอร์เห็ดหลินจือ จัดว่าเป็นโปรตีนชนิดสมบูรณ์ เพราะมีทั้งกรดอะมิโนที่เป็นองค์ประกอบของโปรตีนชนิดที่มีความจำเป็นต่อร่างกายครบถ้วนทั้งไอโซลิวซีน ลิวซีน ไลซีน เมไธโอนีน ฟีนิลอะลานีน ทรีโอนีน ทริปโตเฟน และวาลีน แม้แต่ฮีสทีดีนซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดที่จำเป็นอีกตัวหนึ่งที่มีความต้องการในเด็ก ก็ยังสามารถตรวจพบได้ในเห็ดหลินจือ จึงนับได้ว่าเห็ดหลินจือเป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพดีทีเดียว จากการพิจารณาคุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหลินจือ ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะสนับสนุนให้มีการใช้เห็ดหลืนจือเป็นอาหาร เพราะเห็ดหลินจือ มีลักษณะเหนียว แข็ง เคี้ยวไม่ได้ เราจึงบริโภคได้แต่ในส่วนที่เป็นสปอร์เห็ดหลินจือ สารละลาย หรือสารที่สกัดออกมาเท่านั้น แต่ก็ได้ประโยชน์ในการวิเคราะห์เชิงคุณภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของเห็ดหลินจือในด้านต่างๆ และมีการตรวจสอบสารพิษเคมีที่เป็นอันตราย ซึ่งพบว่า สปอร์เห็ดหลินจือ สารละลาย หรือสารที่สกัดมีสารพิษในปริมาณที่น้อยมาก